สมุดพกครอบครัว

โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สือเนื่องจากเรื่องการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสร้างหลักประกันทางสังคมแบบพุ่งเป้า โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผ่านกลไกการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ คือ “ศูนย์ช่วยเหลือสังคม” ซึ่งจะใช้สมุดพกครอบครัวเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานและขับเคลื่อน ทั้งนี้ในปี 2565 มีเป้าหมายในการดำเนินการ 615,706 ครัวเรือน

สมุดพกครอบครัว

สมุดพกครอบครัว คือ สมุดประจำบ้านที่มีข้อมูลทุกด้านของครัวเรือนนั้น โดยใน 1 ครัวเรือน อาจมีมากกว่า 1 ครอบครัว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล และให้ความช่วยเหลือ โดยแบ่งเป็น 5 มิติ ได้แก่

  1. มิติรายได้
  2. มิติที่อยู่อาศัย
  3. มิติสุขภาพ
  4. มิติการศึกษา
  5. มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ

ซึ่งได้มีการสร้างนิยาม คำจำกัดความของคำว่า ครัวเรือนเปราะบาง หมายถึง ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพืงที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น เช่น ครอบครัวยากจนที่มีเด็กเล็ก แม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง มีปัญหาที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มดังกล่าวอย่างเร่งด่วน จริงจัง และต่อเนื่อง โดยมีการแบ่งระดับของความเปราะบางของครัวเรือนออกเป็น 3 ระดับ คือ

  1. ระดับ 1 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีปัญหาที่อยู่อาศัย
  2. ระดับ 2 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง 1-2 คน (อาทิ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น)
  3. ระดับ 3 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมากกว่า 2 คน

แนวทางการจัดเก็บข้อมูล

การจัดเก็บข้อมูลของสมุดพกครอบครัวถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. ส่วนของครัวเรือน 2. ส่วนของครอบครัว 3. ส่วนของข้อมูลรายบุคคล 4. ส่วนของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ (สำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น) 5. เอกสารประกอบสมุดพกครอบครัว

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อผู้ติดต่อ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
* อีเมลผู้ติดต่อ saraban@m-society.go.th
* วัตถุประสงค์
  • นโยบายรัฐบาล/ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
  • เพื่อการให้บริการประชาชน
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • พันธกิจหน่วยงาน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่ทราบ
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ จังหวัด
* แหล่งที่มา โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน
* รูปแบบการเก็บข้อมูล
  • Database
  • CSV
  • PDF
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลส่วนบุคคล
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล License not specified
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล
URL
ภาษาที่ใช้
  • ไทย
  • อังกฤษ
วันที่เริ่มต้นสร้าง
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ข้อมูลอ้างอิง
สร้างในระบบเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566