You're currently viewing an old version of this dataset. To see the current version, click here.

แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (SDQ)

แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ) นี้ เป็นแบบประเมินของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พัฒนามาจาก The Strengths and Difficulties (SDQ) เป็นเครื่องมือที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการคัดกรองปัญหาเด็กได้ดี สามารถช่วยเหลือครูในการคัดกรองปัญหาและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เด็กในโรงเรียน แบบประเมินนี้ เหมาะที่จะใช้กับเด็กอ่ยุระหว่าง 4 – 16 ปี

แบบประเมินแต่ละชุด มี 2 หน้า หน้าแรกเป็นลักษณะพฤติกรรม จำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีลักษณะของพฤติกรรมทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยสามารถจัดเป็นพฤติกรรมได้ 5 ด้าน ได้แก่

  1. พฤติกรรมด้านอารมณ์ (5 ข้อ)
  2. พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/ สมาธิสั้น (5 ข้อ)
  3. พฤติกรรมเกเร/ ความประพฤติ (5 ข้อ)
  4. พฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน (5 ข้อ)
  5. พฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคม (5 ข้อ)

คะแนนรวมของกลุ่มที่ 1 – 4 เป็นคะแนนที่แสดงถึงจุดอ่อนของเด็กในด้านนั้นๆ (Total Difficulties score) ส่วนคะแนนในด้านที่ 5 เป็นคะแนนที่แสดงถึงจุดแข็งของเด็ก (Strength score) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณานำจุดแข็งมาใช้เพื่อให้การช่วยเหลือแก้ปัญหาจุดอ่อนในด้านอื่นๆ ของเด็กต่อไป ในขณะเดียวกัน คะแนนด้านสัมพันธภาพทางสังคมก็เป็นตัวบ่งชี้ให้ครูได้ทราบถึงความยากง่ายในการแก้ปัญหา ถ้าเด็กมีจุดแข็ง (คะแนนด้านสัมพันธภาพทางสังคมสูง) การให้ความช่วยเหลือปัญหาพฤติกรรมจะง่ายกว่าเด็กที่ไม่มีจุดแข็ง (คะแนนด้านสัมพันธภาพทางสังคมต่ำ) เป็นต้น

หน้าที่ 2 ในด้านหลังของแบบประเมิน เป็นการประเมินผลกระทบของพฤติกรรมว่ามีความเรี้อรัง ส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง ต่อตัวเด็กเอง มีผลต่อสัมพันธภาพทางสังคม และชีวิตประจำวันเด็กมากน้อยเพียงใด ซึ่งส่วนนี้ใช้คำลงสรุปว่า “เป็นระดับความรุนแรงของปัญหา”

ข้อแนะน ำในกำรใช้ 1. แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน มี 3 ชุด คือ แบบประเมินที่นักเรียนประเมินตนเอง 1 ชุด แบบประเมินที่ครูประเมินนักเรียน 1 ชุด * แบบประเมินที่ผู้ปกครองประเมินนักเรียน 1 ชุด แบบประเมินทั้ง 3 ชุดนี้ มีลักษณะข้อค าถามคล้ายคลึงกับข้อคำถามในแบบประเมินที่นักเรียนประเมินตนเอง ตลอดจนการตรวจให้คะแนน ยกเว้นเกณฑ์การแปลผลที่ต่างกันเล็กน้อย 2. ครูที่ประเมินนักเรียน ตลอดจนผู้ปกครองที่จะประเมิน ควรรู้จักนักเรียน และมีความใกล้ชิดกับนักเรียนมาระยะหนึ่ง อย่างน้อย 1 เดือน และควรประเมินทั้ง 25 ข้อในครั้งเดียว 3. หากมีการท ามากกว่าหนึ่งแบบประเมิน ระยะเวลาที่นักเรียนประเมินตนเอง ครูประเมินนักเรียน หรือผู้ปกครองเป็นนักเรียน ควรเป็นระยะเวลาที่ใกล้กัน 4. ครั้งแรกอาจให้นักเรียนประเมินตนเองก่อน แล้วครู/ผู้ปกครองสามารถใช้แบบประเมินตนเองฉบับของครู/ผู้ปกครอง ทำการประเมินนักเรียนซ้า เพื่อดูผลที่ได้ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ 5. อาจใช้การสัมภาษณ์ หรือเครื่องมืออื่นช่วยในการพิจารณาเพิ่มเติม กรณีที่เห็นว่าได้ผลขัดแย้งกับความเป็นจริง อย่าลืมว่า ไม่มีเครื่องมือชนิดใดสมบูรณ์แบบ ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของผู้ตอบแบบประเมินเป็นส าคัญ แบบประเมินตนเองชุดนี้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือในการคัดกรองปัญหานักเรียนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นตัวชี้นำครูในการตัดสินปัญหานักเรียน 6. การประเมินพฤติกรรมนักเรียน เป็นการประเมินในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จึงไม่สามารถใช้ข้อมูลเดิมสำหรับการประเมินนักเรียนในปีต่อไป นั่นคือ ถ้าประเมินนักเรียนทุกปี ก็ต้องทำแบบประเมินทุกปีเช่นกัน

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อผู้ติดต่อ กรมสุขภาพจิต
* อีเมลผู้ติดต่อ adminweb@rajanukul.go.th
* วัตถุประสงค์
  • พันธกิจหน่วยงาน
  • ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับนานาชาติ
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่ทราบ
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ไม่มี
* แหล่งที่มา สถาบันราชานุกูล
* รูปแบบการเก็บข้อมูล PDF
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล License not specified
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล
URL
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่เริ่มต้นสร้าง
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ข้อมูลอ้างอิง
สร้างในระบบเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566